วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

Bacharach

เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่สวยที่สุดริมแม่น้ำ Rhine ล้อมรอบไปด้วยกำแพงเมือง อาคารยุคครึ่งหลังของ Bacharach มีลักษณะเป็นไม้ประดับที่เน้นการตกแต่งด้วยกระถางดอกไม้ ดูโรแมนติกและวินเทจไม่น้อย
                                                   https://travel.mthai.com/world-travel/165451.html
                                                                                                       หน้าหลัก

Triberg im Schwarzwald

เป็นเมืองเล็กๆ ที่แวดล้อมไปด้วยทุ่งหญ้าสีเขียว ตั้งอยู่ท่ามกลางต้นไม้สูงของ Black forest  และเป็นเมืองที่ได้รับการมาเยือนมากที่สุดในเขต Black forest  นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้เส้นทางเดินป่าและ Triberg Falls หนึ่งในน้ำตกที่สูงที่สุดในเยอรมนี
                                                   https://travel.mthai.com/world-travel/165451.html

Mittenwald

Bavarian Alps หมู่บ้านที่สวยที่สุด และมีอาคารก่อสร้างจากยุคกลาง หน้าต่างกระจกสี ทั้งยังมีดอกไม้สวยงามหลากหลายปลูกอยู่ริมทาง งดงามด้วยวิวภูเขาและสายน้ำที่ไหลผ่านเมือง
                                                    https://travel.mthai.com/world-travel/165451.html

Fussen

Fussen ตั้งอยู่ในรัฐบาวาเรีย ติดชายแดนออสเตรีย และอยู่ที่ปลายทางด้านหนึ่งของถนน Romantic road ยิ่งมองจากมุมสูงเมืองนี้ยิ่งทวีความงาม และเมืองโรแมนติกแห่งนี้นี่แหละคือประตูสู่ปราสาทเทพนิยายนอยชวานชไตน์
                                                    https://travel.mthai.com/world-travel/165451.html

 Rothenburg ob der Tauber

เมืองน่ารักดุจเทพนิยาย หรือจะเรียกว่าหมู่บ้านในเทพนิยายก็ไม่ผิด อยู่บนเส้นทางถนนสายโรแมนติก (Romantic road) ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในรัฐบาวาเรีย นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปถ่ายรูป และชมทิวทัศน์รอบเมืองโรเทนบวร์ก บนหอคอยสีงาช้างของอาคารศาลาว่าการ
                                                   https://travel.mthai.com/world-travel/165451.html


     ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียงง”

                                       
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ได้พระราชทานแนวคิด “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มากว่า 40 ปี (ตั้งแต่ปี 2517) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับ โดยได้ถูกนำมาใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของประเทศเสมอมา 

 
หลักเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งมีความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 

รัฐบาลชุดปัจจุบันได้อัญเชิญ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ (20 ปี) รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ด้วย โดยมุ่งเน้นที่จะน้อมนำไปสู่การปฏิบัติสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ ด้วยการสร้างกลไกการขับเคลื่อน ผ่านการบูรณาการกับทุกภาคส่วน

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นสากล และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDG) ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นวาระของประชาคมโลก ที่มี 17 ข้อ และสามารถจัดแบ่งออกเป็น 5P ได้แก่ People (คน) Planet (โลก) Prosperity (การเติบโตทางเศรษฐกิจ) Peace (ความสงบสุข) และ Partnership (ความร่วมมือ) 


รัฐบาลไทยได้ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดถือ “หลักการทรงงาน” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ “ทำตามขั้นตอน” ดังพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 กล่าวโดยสรุปคือ ให้เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน เช่น การสาธารณสุข การดูแลตนเองขั้นต้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้ตนเองไม่เจ็บป่วย มีสุขภาพที่แข็งแรง เมื่อประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ จากนั้นจะเป็นเรื่องของสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน โดยต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เรียบง่าย เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุด

จะเห็นได้ว่า ทั้งสองหลัก คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ “คน” หรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นอันดับแรก

“เมื่อไม่พอก็ต้องเติม เมื่อพอก็ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินก็ต้องรู้จักแบ่งปัน...ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ก้าวออกไปอย่างยั่งยืนเคียงบ่าเคียงไหล่เติบโตไปด้วยกัน” 
แนวทางการปฏิบัติภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมมีความเห็นสอดคล้องต้องกัน และร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าระสงค์การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะในส่วนของภาคเอกชนนั้น บริษัทใหญ่ ๆ ไม่ต่ำกว่า 50 แห่ง ก็มีโครงการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว 

“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคนเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงให้ไว้กับประเทศไทย และผมเชื่อว่าให้ไว้กับโลกด้วย เพราะการขับเคลื่อนทุกอย่างในชีวิตด้วยหลักจริยธรรม รู้จักพอเพียง ไม่โลภ ไม่เห็นแก่ตัว จะทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายความยั่งยืนของ SDGs นับเป็นบุญของประชาชนชาวไทยอย่างมาก ที่ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้มาแล้วจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” 
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวในงาน “Thailand SDGs Forum 2017#3: Positioning Thailand on SDG Map” 7 ก.ย. 2560 


ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมัชชาสหประชาชาติได้จัดประชุมเพื่อสดุดีและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมถึงผู้แทนประจำสหประชาชาติ ยังได้กล่าวคำถวายสดุดีเพื่อแสดงความอาลัยในพระองค์ โดยย้ำถึงการทรงงานตลอดพระชนม์ชีพที่อุทิศเพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน ทรงนำทางและเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างน่าทึ่ง ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาที่ประจักษ์ได้จากโครงการในพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถนำไปใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก



ทั้งหมดทั้งปวงได้พิสูจน์แล้วว่า ศาสตร์พระราชาไม่เพียงมีคุณค่าสำหรับคนไทย แต่เป็นคุณค่าที่ตราไว้ทั่วโลก เป็นแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

โลโก้

หน้าหลัก